ระบบศาลของประเทศไทย

ระบบศาลของประเทศไทย

0 Comments

ระบบศาลในโลกของมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบศาลเดี่ยว (Single Court System) และระบบศาลคู่ (Dual Court System)  1.ระบบศาลเดี่ยว(Single Court System) หมายถึง ประเทศนั้น ไม่มีการจัดตั้งศาลขึ้นมาพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชนเป็นการเฉพาะ ซึ่งศาลที่ใช้กฎหมายมหาชนที่ประกอบไปด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครองก็คือศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง เมื่อไม่มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครองขึ้นมาเป็นการเฉพาะในประเทศที่ใช้ระบบศาลเดี่ยวซึ่งได้แก่ ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายCommon Law เช่น ประเทศอังกฤษ และประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษก็จะใช้ศาลยุติธรรมทําหน้าที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองแทน 2.ระบบศาลคู่หมายถึง ประเทศที่มีการจัดตั้งศาลขึ้นมาพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายมหาชนเป็นการเฉพาะ แยกอิสระจากศาลยุติธรรมในลักษณะคู่ขนาน ฉะนั้น คําว่าศาลคู่ในที่นี้จึงหมายความถึงคู่ขนาน มิใช่ในความหมายของคําว่า”สอง” ประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่จึงไม่จําเป็นที่จะต้องมีเพียงสองศาล อาจจะมีมากกว่าสองก็ได้  ตามรัฐธรรมนูญ

ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

0 Comments

ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย เป็นแนวความคิดทางกฎหมายของฝรั่งเศส ซึ่งกำหนดลำดับชั้นระหว่างกฎหมายประเภทต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้มีอำนาจในการตรากฎหมายที่มีศักดิ์ด้อยกว่าต้องเคารพและไม่สามารถตรากฎหมายที่ละเมิดกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าได้ กฎหมายไทยได้นำเอาหลักดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ อาทิ พระราชบัญญัติจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีศักดิ์สูงกว่า ไม่ได้ หรือ พระราชบัญญัติจะต้องไม่มีเนื้อหาขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ดังที่ มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ กฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยมีมากมาย หลายประเภท เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร  เป็นต้น กฎหมายบางประเภทก็มีผลบังคับใช้

ความผิดทางอาญาและความผิดทางแพ่ง

ความแตกต่างของความผิดทางอาญาและความผิดทางแพ่ง

0 Comments

เนื่องจากกฎหมายอาญามีความประสงค์ที่จะคุ้มครองความปลอดภัยของชุมชนแต่กฎหมายแพ่งมีความประสงค์ที่จะคุ้มครองสิทธิของเอกชน  จึงมีข้อแตกต่างที่สำคัญดังนี้ 1. ความผิดทางอาญาเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเสียหายหรือเกิดความหวาดหวั่นคร้ามแก่บุคคลทั่วไป  ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่จึงถือว่าเป็นความผิดต่อแผ่นดินหรือประขาชนทั่วไป ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน  ไม่มีผลเสียหายต่อสังคมแต่อย่างใด 2. กฎหมายอาญานั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิด  ฉะนั้น  หากผู้ทำผิดตายลง การสืบสวนสอบสวน  การฟ้องร้อง  หรือการลงโทษก็เป็นอันระงับลงไป     ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล  ดังนั้น  เมื่อผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดตายลง  ผู้เสียหายย่อมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ  จากกองมรดกของผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดได้  เว้นแต่จะเป็นหนี้เฉพาะตัวเช่น  แดงจ้างดำวาดรูป  ต่อมาดำตายลง  ถือว่าหนี้ระงับลง 3. ความรับผิดทางอาญาถือเจตนาเป็นใหญ่ในการกำหนดโทษ  เนื่องจากการกระทำผิดดังที่ประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 59  บัญญัติว่า  “บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา  เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท  ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท