ระบบศาลของประเทศไทย

ระบบศาลของประเทศไทย

0 Comments

ระบบศาลในโลกของมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบศาลเดี่ยว (Single Court System) และระบบศาลคู่ (Dual Court System) 

1.ระบบศาลเดี่ยว(Single Court System) หมายถึง ประเทศนั้น ไม่มีการจัดตั้งศาลขึ้นมาพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชนเป็นการเฉพาะ ซึ่งศาลที่ใช้กฎหมายมหาชนที่ประกอบไปด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครองก็คือศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง เมื่อไม่มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครองขึ้นมาเป็นการเฉพาะในประเทศที่ใช้ระบบศาลเดี่ยวซึ่งได้แก่ ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายCommon Law เช่น ประเทศอังกฤษ และประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษก็จะใช้ศาลยุติธรรมทําหน้าที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองแทน

2.ระบบศาลคู่หมายถึง ประเทศที่มีการจัดตั้งศาลขึ้นมาพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายมหาชนเป็นการเฉพาะ แยกอิสระจากศาลยุติธรรมในลักษณะคู่ขนาน ฉะนั้น คําว่าศาลคู่ในที่นี้จึงหมายความถึงคู่ขนาน มิใช่ในความหมายของคําว่า”สอง” ประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่จึงไม่จําเป็นที่จะต้องมีเพียงสองศาล อาจจะมีมากกว่าสองก็ได้ 

ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ได้กําหนดประเภทของศาลไว้ 4 ประเภท ดังนี้ 

  1. ศาลรัฐธรรมนูญ (The Constitutional Court) มีชั้นเดียวและมีศาลเดียว ผู้พิพากษาในศาลรัฐธรรมนูญ เราไม่เรียกว่าผู้พิพากษา แต่เราเรียกว่าตุลาการ ซึ่งสมัยก่อนถ้ามีคดีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ จะมีองค์กรอยู่กลุ่มหนึ่งเรียกว่า คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ทําหน้าที่นี้ คือ วินิจฉัยกรณีทั้งปวงเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญต่อมาจึงมีศาลรัฐธรรมนูญ
  2. ศาลยุติธรรม (The Court of Justice) เป็นศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอํานาจของศาลอื่น ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา
  3. ศาลปกครอง ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษา “คดีปกครอง” ซึ่งได้แก่ คดีในลักษณะ ดังต่อไปนี้

–  คดีพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทําทางปกครองฝ่ายเดียว อันได้แก่ การใช้อํานาจที่หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถดําเนินการได้เองฝ่ายเดียวโดยไม่จําเป็นต้องให้เอกชนยินยอมเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ เช่นกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ระเบียบข้อบังคับต่างๆที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป หรือการออกคําสั่งทางปกครอง เช่น คําสั่งอนุญาต อนุมัติ คําสั่งแต่งตั้ง ฯลฯ

–  คดีพิพาทอันเนื่องมาจากสัญญาทางปกครอง เช่น สัญญาสัมปทาน สัญญาที่หน่วยงานของรัฐจ้างให้เอกชนสร้างสะพาน สร้างถนน

– มาจากการกระทําละเมิดทางปกครอง หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ เช่น ทางราชการออกคําสั่งปิดโรงงานและก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของโรงงาน หรือเจ้าหน้าที่ละเลยหรือต่อใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการล่าช้าเกินสมควรจนเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการได้รับความเสียหาย

– คดีพิพาทอันเนื่องมาจากการละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร เช่น ในเรื่องที่มีกฎหมายกําหนดเวลาให้เจ้าหน้าที่ต้องดําเนินการให้เสร็จภายใน 30 วันหรือแม้กระทั่งในเรื่องที่กฎหมายไม่ได้กําหนดเวลาเอาไว้ แต่โดยปกติสามารถดําเนินการให้เสร็จในระยะเวลาหนึ่ง แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ดําเนินการใดๆจนเวลาล่วงเลยไปหลายเดือน

– คดีพิพาททางปกครองอื่นๆ เช่น คดีที่มีกฎหมายกําหนดไว้โดยเฉพาะว่าให้อยู่ในเขตอํานาจศาลปกครอง หรือให้หน่วยงานทางปกครองต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับบุคคลให้กระทําหรือละเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด คดีปกครองเหล่านี้ กฎหมายกําหนดว่า ให้อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลปกครองชั้นต้น

4. ศาลทหาร มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งผู้กระทําผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอํานาจศาลทหารและคดีอื่น(ม.228) ปกติก็คือคดีที่ทหารประจําการถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดอาญา ทั้งนี้ ศาลทหารไม่มีอํานาจพิจารณาคดีแพ่ง แม้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาก็ตาม

Related Posts

ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

0 Comments

ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย เป็นแนวความคิดทางกฎหมายของฝรั่งเศส ซึ่งกำหนดลำดับชั้นระหว่างกฎหมายประเภทต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้มีอำนาจในการตรากฎหมายที่มีศักดิ์ด้อยกว่าต้องเคารพและไม่สามารถตรากฎหมายที่ละเมิดกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าได้ กฎหมายไทยได้นำเอาหลักดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ อาทิ พระราชบัญญัติจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีศักดิ์สูงกว่า ไม่ได้ หรือ…

ความผิดทางอาญาและความผิดทางแพ่ง

ความแตกต่างของความผิดทางอาญาและความผิดทางแพ่ง

0 Comments

เนื่องจากกฎหมายอาญามีความประสงค์ที่จะคุ้มครองความปลอดภัยของชุมชนแต่กฎหมายแพ่งมีความประสงค์ที่จะคุ้มครองสิทธิของเอกชน  จึงมีข้อแตกต่างที่สำคัญดังนี้ 1. ความผิดทางอาญาเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเสียหายหรือเกิดความหวาดหวั่นคร้ามแก่บุคคลทั่วไป  ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่จึงถือว่าเป็นความผิดต่อแผ่นดินหรือประขาชนทั่วไป ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน  ไม่มีผลเสียหายต่อสังคมแต่อย่างใด 2. กฎหมายอาญานั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิด  ฉะนั้น …