ความผิดทางอาญาและความผิดทางแพ่ง

ความแตกต่างของความผิดทางอาญาและความผิดทางแพ่ง

0 Comments

เนื่องจากกฎหมายอาญามีความประสงค์ที่จะคุ้มครองความปลอดภัยของชุมชนแต่กฎหมายแพ่งมีความประสงค์ที่จะคุ้มครองสิทธิของเอกชน  จึงมีข้อแตกต่างที่สำคัญดังนี้ 1. ความผิดทางอาญาเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเสียหายหรือเกิดความหวาดหวั่นคร้ามแก่บุคคลทั่วไป  ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่จึงถือว่าเป็นความผิดต่อแผ่นดินหรือประขาชนทั่วไป ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน  ไม่มีผลเสียหายต่อสังคมแต่อย่างใด 2. กฎหมายอาญานั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิด  ฉะนั้น  หากผู้ทำผิดตายลง การสืบสวนสอบสวน  การฟ้องร้อง  หรือการลงโทษก็เป็นอันระงับลงไป     ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล  ดังนั้น  เมื่อผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดตายลง  ผู้เสียหายย่อมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ  จากกองมรดกของผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดได้  เว้นแต่จะเป็นหนี้เฉพาะตัวเช่น  แดงจ้างดำวาดรูป  ต่อมาดำตายลง  ถือว่าหนี้ระงับลง 3. ความรับผิดทางอาญาถือเจตนาเป็นใหญ่ในการกำหนดโทษ  เนื่องจากการกระทำผิดดังที่ประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 59  บัญญัติว่า  “บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา  เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท  ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท